ทดสอบคุณสมบัติพลาสติก
ค่าเฉดสีของพลาสติก
เครื่องสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ ใช้วัดค่าเฉดสีออกมาได้เป็น
- ค่าความขาว/ดำ (L*)
- ค่าความแดง/เขียว (a*)
- ค่าความเหลือง/น้ำเงิน (b*)
ค่าที่นิยมนำไปใช้งานจะเรียกว่าค่า ∆E ซึ่งมีค่าเป็นตัวเลขแสดง
ค่าความแตกต่างของสีระหว่างตัวมาตรฐาน และ สินค้าที่ผลิตขึ้น
โดยทั่วไปค่า ∆E ที่ยอมรับได้อยู่ที่ <1.0
∆E* = [(∆L)2+(∆a)2 +(∆b)2]1/2
ค่าความเหลืองของพลาสติก
เครื่องสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ ใช้วัดค่าความเหลืองของพลาสติกได้เป็นค่า YI ค่าที่ใช้วัดความแตกต่างคือ ∆YI เป็นการเปรียบเทียบความเหลืองของชิ้นงาน
∆YI = YI SAMPLE – YI STD
โดยถ้าค่า ∆YI เป็นบวก แสดงว่า ชิ้นงานตัวอย่างเหลืองกว่าชิ้นงานมาตรฐาน ถ้าค่า ∆YI เป็นลบ แสดงว่า ชิ้นงานตัวอย่างเหลืองน้อยกว่าชิ้นงานมาตรฐาน
ความต้านทานแรงกระแทกของพลาสติก
ความต้านทานแรงกระแทกเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของพลาสติก เพื่อที่จะบอกความเหนียวของพลาสติกในการนำไปใช้งานต่างๆ
เครื่องมือที่ใช้ทดสอบความต้านทานแรงกระแทกเป็นเครื่องทดสอบแบบค้อนเหวี่ยงโดยการทดสอบเป็นแบบ IZOD ตามมาตรฐานการทดสอบสากล ASTM D256
ชิ้นงานจะถูกขึ้นรูปและถูกบากตามค่ามาตรฐาน ค่าที่วัดได้จะเป็นค่าพลังงานในการดูดซับแรงกระแทก
ค่าดัชนีการไหลของพลาสติก
เครื่องวัดค่าดัชนีการไหลของพลาสติก สามารถวัดค่าดัชนีการไหล หรือ MFI ของพลาสติกประเภทเทอร์โมพลาสติกได้
โดยอุณหภูมิที่ใช้ในการทดสอบเพื่อให้พลาสติกหลอมละลาย และน้ำหนักที่ใช้กดทับเพื่อให้พลาสติกมีการไหลออกจากเครื่องจะแตกต่างกันสำหรับพลาสติกแต่ละชนิด
ตัวแปรในการทดสอบอ้างอิงตามมาตรฐาน ASTM D1238 หน่วยของ MFI จะเป็น กรัมต่อ 10 นาที
อุณหภูมิหลอมเหลวของพลาสติก
อุณหภูมิหลอมเหลวของพลาสติก (Tm) หาได้จากเครื่อง Differential Scanning Calorimeter (DSC) นอกจากอุณหภูมิหลอมเหลวแล้ว เครื่อง DSC ยังสามารถใช้หาค่าอื่นๆ ที่เป็นสมบัติทางความร้อนของพลาสติกได้ ด้วย เช่น
- อุณหภูมิเปลี่ยนสถานะคล้ายแก้ว (Tg)
- อุณหภูมิการสลายตัว (Td)
- อุณหภูมิการหลอมเหลว (Tm)
ความเป็นตัวกันไฟฟ้าสถิตย์ของพลาสติก
วัดค่าความต้านทานไฟฟ้าเชิงปริมาตร (Rv) และเชิงพื้นผิวของชิ้นงาน (Rs) การทดสอบอ้างอิงตามมาตรฐาน ASTM D257
โดยปกติพลาสติกจะเป็นฉนวน ค่า Rs จะอยู่ที่ 1015 – 1017 โอห์ม
- หน่วยของค่าความต้านทานไฟฟ้าเชิงปริมาตร (Rv) คือ โอห์ม-เซนติเมตร
- หน่วยของค่าความต้านทานไฟฟ้าเชิงพื้นผิวของชิ้นงาน (Rs) คือ โอห์ม
การขึ้นรูปชิ้นงานพลาสติกเพื่อการทดสอบ
ชิ้นงานที่จะนำไปทดสอบคุณสมบัติต่างๆ จะต้องมีขนาดตามที่มาตรฐานกำหนด เรามีแม่พิมพ์สำหรับการขึ้นรูปชิ้นงานเพื่อนำไปทดสอบคุณสมบัติต่างๆ ดังนี้
- ความทนแรงดึงของพลาสติก อ้างอิงตามมาตรฐาน ASTM D638
- ความทนแรงดัดโค้งของพลาสติก อ้างอิงตามมาตรฐาน ASTM D790
- ความต้านทานแรงกระแทกของพลาสติก อ้างอิงตามมาตรฐาน ASTM D256
- การทนการติดไฟของพลาสติก อ้างอิงตามมาตรฐาน UL94